บทที่ 1 แนวคิดการออกแบบและการจัดการเรียนรู้
การออกแบบคืออะไร การออกแบบเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ประสบการณ์ความรู้และทักษะอย่างกว้างขวาง เพื่อที่จะแสวงหาทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดภายในข้อจำกัดที่มีอยู่ การออกแบบเกี่ยวข้องการระบุปัญหาและทำปัญหาให้กระจ่างและประกอบไปด้วยการตอบสนองที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนทดสอบแก้ไขปัญหานั้น และปรับปรุงวิธีการแก้ปัญหา
1.ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน
ดิคและแครี (Dick & Carey, 1985, p. 5) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนการสอนที่ต้องการ โดยตอบคำถามให้ได้ว่าจะสอนอะไรและสอนอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย และจะทราบได้ อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว
2.นิยามของการออกแบบการเรียนการสอน
ริตา ริชชีย์ (Rita Richey ,1986 : 9) ได้นิยามการออกแบบการเรียนการสอนว่า หมายถึง วิทยาศาสตร์การสร้างสรรค์รายละเอียดที่ชี้แจงเฉพาะเพื่อการพัฒนา การประเมินผลและการบำรุงรักษาสถานการณ์ หรือเงื่อนไขที่อำนวยความสะดวกให้กับการเรียนรู้ในหน่วยของเนื้อหาวิชา (Unit of subject matter)
การออกแบบการเรียนการสอนมีลักษณะที่สำคัญคือ เป็นกระบวนการที่เป็นระบบที่นำมาใช้ในการศึกษาความต้องการของผู้เรียนและปัญหาการเรียน
การออกแบบการเรียนการสอนมีความเหมือนหรือ แตกต่างจากการวางแผนการเรียนการสอนอย่างไร การวางแผน การเรียนการสอนโดยทั่วไปอาจจะไม่มีการออกแบบการเรียนการสอน แต่การออกแบบการเรียน การสอนต้องมีการวางแผนการเรียนการสอนเสมอ ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องมีทั้งความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์
กรอบแนวคิดของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย 4 ประการ คือ
การประเมินผล
|
จุดหมาย
|
วิธีสอน
|
ผู้เรียน
|
การออกแบบระบบการเรียนการสอน เป็นกระบวนการเชิงระบบของการวางแผนระบบการเรียนการสอนและพัฒนาการเรียนการสอน เป็นกระบวนการของการนำแผนไปใช้
อาจสรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอน หมายถึงกระบวนการแก้ปัญหาการเรียนการสอนโดยการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แล้วจึงวาง ความรู้จากหลายๆทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอน ทฤษฎีการติดต่อสื่อสาร ตลอดจนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
3.ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน
การลงทุนที่ประสบความสำเร็จ หมายถึงการที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้ประโยชน์ หากเปรียบเทียบกับการทำงานทางธุรกิจแล้ว ประโยชน์ย่อมหมายถึง กำไร เจ้าของกิจการได้กำไร ลูกค้าพอใจในราคา คุณภาพ และการบริการคนงานและลูกจ้างได้รับค่าแรงงานที่เหมาะสมและมีความรู้สึกที่ดีต่อบริษัท ในทำนองเดียวกัน นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนย่อมได้ประโยชน์จากการเรียนการสอน
(1.) ผู้บริหารหรือผู้จัดการโปรแกรมการศึกษาและการเรียนการสอนย่อมต้องการความมั่นใจในประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการเรียน
(2.) นักออกแบบการสอนย่อมต้องการความมั่นใจว่า โปรแกรมที่ออกแบบไว้เป็นโปรแกรมที่น่าพอใจซึ่งตัวบ่งชี้ที่สำคัญในความพอใจก็คือผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในเวลาเหมาะสม
(3.) ครูผู้สอนย่อมต้องการที่จะเห็นผู้เรียนได้รับความรู้ ความสามารถอื่นๆ รวมทั้งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน
(4.) ผู้เรียนต้องการความสำเร็จในการเรียน ได้รับประสบการณ์การเรียนด้วยความสนุกสนานและความพอใจ
กลยุทธ์การสอน
การออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นการสอนรายบุคคล โดยอาศัยสื่อต่างๆเข้าช่วยทั้งที่เป็นสื่อที่มีความซับซ้อนน้อย เช่นกระดาษ ดินสอ สื่อที่มีความซับซ้อนปานกลาง เช่น โสตทัศนูปกรณต่างๆ และสื่อที่มีความซับซ้อนมาก ซึ่งหมายถึงสื่อที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยอาศัยสื่อโทรคมนาคม (Interactive learning media) และคอมพิวเตอร์เข้าช่วย
4.แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป
ออกแบบการเรียนการสอนนำความรู้จากหลายสาขาวิชามาประยุกต์เข้าด้วยกันเป็นขั้นตอนกระบวนการเชิงระบบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยพื้นฐานแล้ววิธีการเชิงระบบกำหนดให้ต้องระบุว่า จะเรียนอะไร วางแผนการสอนว่าจะยอมให้การเรียนรู้เกิดขึ้น วัดผลการเรียนรู้เพื่อตัดสินว่า การเรียนรู้นั้นบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่และกลั่นกรองตัวสอดแทรกจนกระทั่งบรรลุจุดประสงค์ จากลักษณะนี้เองจึงทำให้เกิดแบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป
แบบจำลองการเรียนการสอนทั่วไป มีความง่ายในการใช้มาก แต่ต้องใช้ด้วยความประณีตและปรับปรุงอยู่เสมอ แบบจำลองในลักษณะนี้มีความหมายว่าการออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการเชิงระบบที่ประกอบด้วย ขั้นตอนทั่วไปเหล่านี้ คือ 1.การวิเคราะห์ 2.การออกแบบ 3.การพัฒนา 4.การนำไปใช้ 5.การประเมินผล
5.บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน (Designer’s role) สามรถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสิ่งนำเสนอว่าต้องอาศัยเทคนิค หรือไม่ต้องอาศัยเทคนิค และขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของทีมการออกแบบเนื้อหาที่ต้องใช้เทคนิคสูง ผู้ออกแบบจำเป็นต้องให้คำแนะนำในการออกแบบกับผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา
6.งานและผลผลิตของการออกแบบการเรียนการสอน
งานของผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะหลากหลายในความต้องการการเรียนรู้ความชำนาญ ผลิตผลที่ได้และสถานการณ์ของงาน การออกแบบไม่จำเป็นต้องเป็นทีมเสมอไปในองค์กรเล็กๆอาจจะใช้ผู้ออกแบบเพียงคนเดียวในการทำภาระการออกแบบการเรียนการสอน
6.1 งานออกแบบ
พิสัยของงาน (Job) เป็นไปตามสถานการณ์ และระดับที่แตกต่างกันของผู้ชำนาญการบางครั้งผู้ออกแบบการเรียนการสอนทำหน้าที่เหมือนเป็นผู้ชำนาญการในขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการ ในบางงานเรียกผู้ออกแบบว่าเป็นผู้ปฏิบัติที่มีสมรรถภาพในการดำเนินโครงการตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุด
6.2 ผลิตผลของการออกแบบ
ไม่ว่าจะเป็นงานที่ตั้งสมมติฐานไว้ หรืองานในหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายของผลิตผลก็ตาม จะมีขอบเขตที่แตกต่างและซับซ้อน งานออกแบบการเรียนการสอนก็เช่นกันขอบเขตรวมถึงความแตกต่างของขนาดและเนื้อหาความซับซ้อนรวมถึงความแตกต่างของหลักสูตรหรือสื่อ ในระดับที่เล็กที่สุดของขอบเขต คือแผนการสอน (lesson plans) และหน่วยหรือชุดโมดุล (Modules) ระดับต่อไปรวมไปถึงรายวิชา (Courses) และหน่วย (Unit) รายวิชาหลักสูตรและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวอย่างของผลิตผลที่กว้างใหญ่ ระดับสูงสุดของระดับความซับซ้อน คือ สื่อการเรียนรู้ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยอาศัยทางโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์เข้าช่วย ระดับต่ำสุดของความซับซ้อน คือกระดาษและดินสอ
7.สมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียนการสอน เป็นกระบวนการทางเชาว์ปัญญา ที่ต้องการทักษะความคิดในระดับสูง วอลลิงตัน (Wallington 1981) ได้ให้รายการทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอน ซึ่งเป็นทักษะระหว่างบุคคล ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการแก้ปัญหา และทักษะในการดูดซึมสารสนเทศ
7.1 ความถนัดของบุคคล
การออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยความถนัด (aptitude) ด้วยผู้ออกแบบการเรียนการสอนจำเป็นต้องมีผู้ที่มีความสามารถในการคิดทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม
ผู้ออกแบบต้องมีความสนุกสนานในการทำงานด้วยแบบจำลองที่นำเสนอด้วยทัศนะและการเขียน เพราะว่างานออกแบบที่ดีจำนวนมากต้องอาศัยการเขียนและการเรียบเรียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น