บทที่ 3 รูปแบบการเรียนการสอน
แบ่งออกเป็น 3 หมวดใหญ่ๆคือ
1.รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย
2.รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาโดยนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
3.กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
ก่อนนำเสนอรูปแบบและกระบวนการดังกล่าวผู้เขียนขอทำความเข้าใจก่อนว่า
รูปแบบบางรูปแบบที่นำเสนอและผู้เขียนเรียกว่ารูปแบบการเรียนการสอนนั้น
บุคคลที่พัฒนารูปแบบนั้นขึ้นมาอาจไม่ได้เรียกชื่องานของท่านว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอน
บางท่านเรียกว่า “การสอน” “รูปแบบการสอน” “การจัดการเรียนการสอน” “ การสอนแบบ...” ซึ่งโดยความหมายและลักษณะผลงานแล้ว
ตรงกับความหมายของ “รูปแบบการเรียนการสอน” ทั้งสิ้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอใช้คำว่า รูปแบบการเรียนการสอนทั้งหมด
เพื่อความเป็นระบบระเบียบ และทำให้ผู้อ่านไม่เกิดความสับสน
1.รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการนักศึกษาไทย
ผู้เขียนจำนำเสนอ 4 รูปแบบ ดังนี้
1.1รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์พัฒนาโดย สมุน อมรวิวัฒน์
1.2รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการฃ
1.3รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมไทย
1.4รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
1.1รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์พัฒนาโดยสมุน
อมรวิวัฒน์
ก.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
สมุน อมรวิวัฒน์ (2553:168-170) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนี้ขึ้นมาจากแนวคิดที่ว่า
การศึกษาที่แท้ควรสัมพันธ์สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต
วึ่งต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งมีทั้งทุกข์ สุข
ความสมหวังและความผิดหวังต่างๆการศึกษาที่แท้ควรช่วยให้ผู้เรียนรู้ที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆเหล่านั้น
และสามารถเอาชนะปัญหาเหล่านั้นได้โดย
1.การเผชิญ
ได้แก่การเรียนรู้ที่จะเข้าใจภาวะที่ต้องเผชิญ
2.การผจญ คือ
การเรียนรู้วิธีต่อสู้กับปัญหาอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและมีหลักการ
3.การผสมผสาน ได้แก่ การเรียนรู้ที่จะผสมผสานวิธีการต่างๆเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาได้สำเร็จ
4.เผด็จการ คือ การลงมือแก้ปัญหาให้หมดไป
โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาสืบเนื่องต่อไปอีก
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการต่างๆจำนวนมาก
อาทิ กระบวนการคิด (โยนิโสมนสิการ)
กระบวนการเผชิญสถานการณ์ กระบวนการแสวงหาความรู้
กระบวนการประเมินค่าและตัดสินใจ กระบวนการสี่อสาร ฯลฯ รวมทั้งพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรมในการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิต
ค.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
กระบวนการดำเนินการมีดีงนี้ (สมุน อมรวิวัฒน์,2553:170-171;2542:55-145)
1.ขั้นนำ การสร้างศรัทธา
1.1ผู้สอนจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสมกับเนื้อหาของบทเรียน
และเร้าใจให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของบทเรียน
1.2ผู้สอนสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน
2.ขั้นสอน
2.1ผู้สอนหรือผู้เรียนนำเสนอสถานการณ์ปัญหา
2.2ผู้เรียนฝึกทักษะการแสวงหาและรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้
และหลักการต่างๆ
2.3ผู้เรียนฝึกสรุปประเด็นสำคัญ ฝึกการประเมินค่า
เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาว่าทางใดดีที่สุด โดยใช้วิธีคิดหลายๆวิธี(โยนิโสมนสิการ)
2.4ผู้เรียนฝึกทักษะการเลือกและตัดสินใจ โดยการฝึกการประเมินค่าตามเกณฑ์ที่ถูกต้อง
ดีงาม เหมาะสม ฝึกการวิเคราะห์ผลดี ผลเสียที่เกิดขึ้นจากทางเลือกต่าง
และฝึกการใช้หลักการ ประสบการณ์ และการทำนายมาใช้ในการเลือกหาทางที่ดีที่สุด
2.5ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามทางเลือกที่ได้ให้ไว้
ขั้นสรุป
3.1ผู้เรียนแสดงออกด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การพูด
เขียน แสดง หรือกระทำในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสมกับความสามารถและวัย
3.2ผู้เรียนและผู้สอนสรุปบทเรียน
3.3ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะได้พัฒนาความสามารถในการเผชิญปัญหา
และสามารถคิดและตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
1.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการโดย
สมุน อมรวิวัฒน์
ก.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
ในปี พ.ศ.2526 สมุน อมรวิวัฒน์
นักการศึกษาไทยผู้มีชื่อเสียงและมีผลงานทางการศึกษากับการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ
มาสร้างเป็นหลักการและขั้นตอนการสอนตามแนวพุทธวิธีขึ้น
รูปแบบการเรียนการสอนนี้พัฒนาขึ้นจากหลักการที่ว่า
ครูเป็นบุคคลสำคัญที่สามารถจัดสภาพแวดล้อม แรงจูงใจ
และวิธีการสอนให้ศิษย์เกิดศรัทธาที่จะเรียนรู้
จะสามารถช่วยพัฒนาให้ศิษย์เกิดปัญญาและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม (สมุน อมรวิวัฒน์, 2533:161)
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาความสามารถในการคิด (โยนิโสมนสิการ) การตัดสินใจและการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน
ค.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
1.
ขั้นนำ
การสร้างเจตคติที่ดีต่อครู วิธีการเรียนและบทเรียน
1.1
จัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสม ได้แก่
เหมาะสมในระดับของชั้นวัยของผู้เรียน วิธีการเรียนการสอนและเนื้อหาของบทเรียน
1.2สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับศิษย์
ครูเป็นกัลยาณมิตร หมายถึง ครูทำตนให้เป็นที่เคารพรักของศิษย์ โดยมีบุคลิกที่ดี
สะอาด แจ่มใส และสำรวม มีสุขภาพจิตดี มีความมั่นใจในตนเอง
1.3การเสนอสิ่งเร้าและแรงจูงใจ
ก. ใช้สื่อการเรียนการสอน หรืออุปกรณ์และวิธีการต่างๆ เพื่อเร้าความสนใจ เช่น
การจัดป้ายนิเทศ นิทรรศการ เสนอเอกสารภาพ กรณีปัญหา กรณีตัวอย่าง สถานการณ์จำลอง
เป็นต้น
ข.จัดกิจกรรมขั้นนำที่สนุก
น่าสนใจ
ค.ศิษย์ได้ตรวจสอบความรู้
ความสามารถของตน และได้รับทราบผลทันที
2.
ขั้นสอน
2.1
ครูเสนอปัญหาที่เป็นสาะรสำคัญของบทเรียน
2.2
ครูแนะนำแหล่งวิทยาการและแหล่งเรียนรู้
2.3
ครูฝึกการรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง
ความรู้และหลักการ
2.4
ครูจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด
ลงมือค้นคว้า คิดวิเคราะห์ และสรุปความคิด
2.5
ครูฝึกการสรุปประเด็นของข้อมูล ความรู้
2.6
ศิษย์ดำเนินการเลือกและตัดสินใจ
2.7
ศิษย์ทำกิจกรรมฝึกปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ผลการเลือก
ปละการตัดสินใจ
3.
ขั้นสรุป
3.1 ครูและศิษย์รวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติทุกขั้นตอน
3.2
ครูและศิษย์อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้
3.3
ครูและศิษย์สรุปผลการปฏิบัติ
3.4
ครูและศิษย์สรุปบทเรียน
3.5
ครูวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะในการคิด การตัดสินใจ
และการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
1.3 รูปแบบการเรียนการสอนการคิดเป็นเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมไทย
โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา
ก.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2537) ได้พัฒนารายวิชา “การคิดเป็นเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมไทย”
ขึ้น เพื่อพัฒนานักเรียนระดับมัธยมศึกษาให้สามารถคิดเป็น
รู้จักและเข้าใจตนเอง รายวิชาประกอบด้วยเนื้อหา 3 เรื่อง คือ
1.การพัฒนาความคิด (สติปัญญา)
2. การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม (สัจธรรม)
และ 3. การพัฒนาอารมณ์ ความรู้สึก
กิจกรรมที่ใช้เป็นกิจกรรมปฏิบัติการ 4 กิจกรรม ได้แก่ 1. กิจกรรมปฏิบัติการพัฒนากระบวนการคิด
2. กิจกรรมปฏิบัติการพัฒนารากฐานความคิด 3. กิจกรรมปฏิบัติการในชีวิตจริง 4. กิจกรรมปฏิบัติการประเมินผลการพัฒนาประสิทธิภาพของชีวิตและงาน
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งช่วยพัฒนากระบวนการคิด
ค.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ขั้นสืบค้นปัญหา
เผชิญสถานการณ์ในวิถีการดำรงชีวิต ผู้สอนอาจนำเสนอสถานการณ์ในวิถีการดำรงชีวิต
หรืออาจใช้สถานการณ์และปัญหาจริงที่ผู้เรียนประสบมาในชีวิตการดำรงชีวิต
ขั้นที่ 2 ขั้นรวบรวมข้อมูลและผสมผสานข้อมูล 2 ด้าน
เมื่อค้นพบปัญหาแล้ว
ให้ผู้เรียนศึกษาข้อมูลความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์นั้น
โดยรวบรวมข้อมูลที่ให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านที่เกี่ยวกับตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และด้านหลักวิชาการ
ขั้นที่ 3 ขั้นการตัดสินใจอย่างมีเป้าหมาย
ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหา
โดยพิจารณาไตร่ตรองถึงผลที่จะเกิดขึ้นทั้งกับตนเอง ผู้อื่น และสังคมโดยรวม
และตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีสุด
ขั้นที่ 4 ขั้นปฏิบัติและตรวจสอบ
เมื่อตัดสินใจเลือกแนวปฏิบัติได้แล้ว ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง
ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผลและวางแผนพัฒนา
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2543 ) ได้ทดลองใช้รูปแบบดังกล่าวในการสอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาแล้วพบว่า
ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดเป็น สามารถแก้ปัญหาต่างๆได้
มีความเข้าใจในตนเองและผู้อื่นมากขึ้น เข้าใจระบบความสัมพันธ์ในสังคม
และเกิดทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
1.4 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปา
(CIPPA Model) หรือรูปแบบการประสาน 5 แนวคิดหลักโดย
ทิศนา แขมมณี
ก.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
ทิศนา แขมมณี (2542
: 17) รองศาสตราจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นจากประสบการณ์ที่ใช้ได้ในแนวคิดการศึกษาต่างๆ
ในการสอนเป็นเวลาประมาณ 30 ปี
และพบว่าหลักการเรียนรู้จำนวนหนึ่งสามารถใช้ได้ผลดีตลอดมา หลักดังกล่าว ได้แก่ 1.
หลักการสร้างความรู้ 2. หลักกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ
3. หลักความพร้อมในการเรียนรู้ หลักการเรียนรู้กระบวนการ และ
5. หลักการถ่ายโอนการเรียนรู้ หลักการทั้ง 5 เป็นที่มาของแนวคิด “CIPPA” ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เอให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด
โดยการให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง C = construction of
knowledge และมีการปฏิสัมพันธ์ I = interaction กับบุคคลอื่นๆและสิ่งแวดล้อมรอบตัวหลายๆด้าน โดยใช้ทักษะกระบวยการ P
= process skills จำนวนมากเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ การให้ผู้เรียนมีการเคลื่อนไหวทางกายอย่างเหมาะสม
P = physical participation และผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้
A = application ซึ่งผู้สอนสามารถนำแนวคิดทั้ง 5 ดังกล่าวไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้มีคุณภาพได้
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้
ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างแท้จริง
โดยการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยการร่วมมือจากกลุ่ม
ค.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ซิปปา (CIPPA)
ขั้นที่ 1การทบทวนความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องจะเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน
ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่างๆได้อย่างหลากหลาย
ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่
และเชื่อมโยงความรู้ที่หามาได้
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
ขั้นที่ 5 การสรุปจัดระเบียบความรู้
และวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้
ขั้นที่ 6 การปฏิบัติและการแสดงผลงาน
ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียน สามารถอธิบาย ชี้แจง
ตอบคำถามได้ดี นอกจากนั้นยังได้พัฒนาในการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์
การทำงานเป็นกลุ่ม การสื่อสารรวมทั้งเกิดการใฝ่รู้ด้วย
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาโดยนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
2.1รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการกิจกรรมทางกาย
(Physical Knowledge Activity) ในการสร้างมโนทัศน์พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กก่อนประถมศึกษา
ก.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
เตือนใจ ทองสำริด (2531) อาจารย์ประจำสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
ได้ทำการวิจัยเรื่องนี้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต โดยใช้แนวของเดอวรีย์ (Devries)
ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนกระทำกิจกรรมทางกาย
จะทำให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการทางสติปัญญา
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะสร้างมโนทัศน์พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา
ควบคู่ไปกับการส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของเด็กก่อนประถมศึกษา
ค.กระบวนการการเรียนการสอนของรูปแบบ
1.ขั้นสร้างสถานการณ์ปัญหาและแนะนะอุปกรณ์
2.ขั้นสำรวจตรวจค้นและชักจูง
3.ขั้นขยายประสบการณ์
4.ขั้นสรุปและประเมินผล
ง.ผลที่ผู้เรียนรับจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
เตือนใจ ทองสำริด (2530 : 181-183) ได้นำรูปแบบนี้ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่
2 จำนวน 2 กลุ่ม
พบว่าคะแนนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนนอกจากนั้นยังพบว่า
นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนและสนใจสื่อมาก
รูปแบบนี้นอกจากนี้นอกจากจะใช้กับเด็กก่อนวัยเรียนแล้ว
ผู้วิจัยได้เสนอแนะว่าสามารถปรับใช้กับเด็กระดับประถมศึกษาตอนต้นได้ดี
โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์
2.2รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สาระอิงบริบท
(Anchored Instruction) เพื่อส่งเสริมความใฝ่รู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษา
ก.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
วิโรจน์ วัฒนานิมิตกูล (2540) ให้ความหมายของคำว่า Anchor ตามลักษณะการใช้งานได้ว่าเป็น
1.จุดรวม
2.ความลึก
3.ความกว้าง
ซึ่งแสดงถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่นำสาระซึ่งมีความซับซ้อนทั้งทางกว้างและลึกและมีมุมมองได้หลายด้านมาเป็นเนื้อหาการเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าและสรุปเป็นองค์รวมได้
สามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความต้องการจะศึกษาค้นคว้าหาความรู้นั้นในแง่มุมต่างๆที่ผู้เรียนสนใจ
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
การใช้รูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเนื้อหานั้นๆ
อย่างลึกซึ้ง รวมทั้งให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ค.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ผู้สอนมุ่งมุ่งนำเสนอสาระอิงบริบทให้ผู้เรียนพิจารณาประเด็นต่างๆ
ในแง่มุมที่ต้องการศึกษาค้นคว้าความรู้
โดยใช้วิธีการที่หลากหลายแล้วนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
จากนั้นจึงสรุปเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับสาระอิงบริบทเดิม
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในสาระอิงบริบทนั้นๆยิ่งขึ้น แล้วนำความรู้ที่ได้ทั้งหมดไปใช้ในการพิจารณาประเด็นที่ค้นคว้าต่อไป
ง.ผลที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
วิโรจน์ วัฒนานิมิตกูล (2540 : 151-154) ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน
ผลปรากฏว่าหลังการทดลองสอนนักเรียนกลุ่มทดลองได้คะแนนเฉลี่ยด้านทักษะการแสวงหาความรู้
และคะแนนเฉลี่ยด้านเจตคติต่อการแสวงหาความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
2.3รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
(Constructivism) สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ก.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
ไพจิตร สะดวกการ (2538) ศึกษานิเทศก์
กรมสามัยศึกษาได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์นี้ขึ้นเป็นวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตเพื่อใช้สอบนักศึกษาระดับมัธยมศึกษา
โดยใช้แนวคิดของคอนสตรัคติวิสต์โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.การเรียนรู้คือการสร้างโครงสร้างทางปัญญาที่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา
2.นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีการที่ต่างกัน
โดยอาศัยประสบการณ์เดิมโดยโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่
ความสนใจและแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น
3.ครูมีหน้าที่จัดให้นักเรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของนักเรียน
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนคณิตศาสตร์
โดยช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเข้าใจ
จากการมีโอกาสได้สร้างความรู้ด้วนตนเอง
ค.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นตอนที่ 1 สร้างความขัดแย้งทางปัญญา
ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินกิจกรรมไตร่ตรอง
ขั้นตอนที่ 3 สรุปผลการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบนี้
ผู้เรียนจะมีความเข้าใจมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ที่ตนและกลุ่มเพื่อนได้ร่วมคิดโดยกระบวนการสร้างความรู้และพัฒนาทักษะกระบวนการต่างที่สำคัญทางคณิตศาสตร์
2.4 รูปแบบการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษแบบเน้นกระบวนการ
(Process Approach) สำหรับนักศึกษาไทยระดับอุดมศึกษา
ก.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
รูปแบบการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษแบบเน้นกระบวนการนี้
เป็นผลงานวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตของ พิมพันธ์ เวสสะโกศล (2533) อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเรียนการสอนมุ่งเน้นที่กระบวนการที่ทั้งหลายที่ใช้ในการสร้างงานเขียน
การสอนควรเป็นการเสนอแนะวิธีการสร้างและเรียบเรียงความคิดมากกว่าจะเป็นการสอนรูปแบบและโครงสร้างของภาษา
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถเขียนภาษาอังกฤษในระดับข้อความได้
โดยข้อความนั้นสามารถสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
และเป็นข้อความที่ถูกต้องทั้งหลักการใช้ภาษาและหลักการเขียน
นอกจากนั้นยังสามารถพัฒนาความสามารถในการใช้กระบวนการเขียนในการสร้างงานเขียนที่ดีด้วย
ค.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ขั้นก่อนการเขียน
ขั้นที่ 2 การเรียบเรียงข้อมูล
ขั้นที่ 3 ขั้นปรับปรุงแก้ไข
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนการสอนตามรูปแบบ
กลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบนี้
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนภาษาอังกฤษสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนโดยอาจารย์ใช้วิธีสอนแบบเน้นตัวงานเขียนอย่างมีนัยสำคัญและผู้วิจัยได้เสนอแนะให้รูปแบบนี้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนเขียนในระดับอื่นๆด้วย
2.5 รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติสำหรับครูวิชาอาชีพ
ก.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ (2535) ได้พัฒนารูปแบบนี้
เพื่อการเรียนการสอนวิชาอาชีพสายต่างๆซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นทักษะปฏิบัติโดยอาศัยแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะปฏิบัติ
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่ทำ
และเกิดทักษะที่สามารถจะทำงานนั้นได้อย่างชำนาญตามเกณฑ์
รวมทั้งมีเจตคติที่ดีมีลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงานด้วย
ค.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ยุทธวิธีที่ 1 การสอนทฤษฎีก่อนสอนงานปฏิบัติ
ยุทธวิธีที่ 2 การสอนงานปฏิบัติก่อนสอนทฤษฎี
ยุทธวิธีที่ 3 การสอนทฤษฎีและปฏิบัติไปพร้อมๆกัน
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผลการทดลองพบว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านทฤษฎีถึงขั้นความเข้าใจและประสบผลสำเร็จในด้านการพัฒนาทักษะในระดับที่สามารถปฏิบัติงานให้มีคุณภาพได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องการรวมทั้งได้แสดงพฤติกรรมของการมีลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงานด้วย
โมเดลงานกลุ่ม
สภาพแวดล้อมทางการเรียน (Learning Environment)
หมายถึง สภาวะใดๆ
ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
สภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม (Concrete
Environmental) หรือสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical
Environment) ได้แก่ สภาพต่างๆ ที่มนุษย์ทำขึ้น เช่น อาคาร สถานที่ โต๊ะ
เก้าอี้ วัสดุ อุปกรณ์ หรือสื่อต่างๆ รวมทั้งสิ่งต่างๆ ที่อยู่ตาม ธรรมชาติ
อันได้แก่ ต้นไม้ พืช ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
ในสังคมสารสนเทศ
สภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดเพียงในห้องเรียน
หากแต่เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ นวัตกรรมเทคโนโลยีจะมีบทบาทในการขยายขอบเขตของสภาพการเรียนรู้ที่กว้างขวางขึ้น
และไม่จำกัดในเรื่องของเวลาและสถานที่ Margaret Riel เสนอรูปแบบแนวคิดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่พึงมี 4
องค์ประกอบ คือ
1. การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
(Learner-centered Approach) หมายถึง ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระฉับกระเฉงและเน้นเนื้อหาที่ผู้เรียนสนใจ
เป้าหมายของการเรียนการสอนยุคใหม่คือ การให้ผู้เรียนตั้งเป้าหมายด้วยตนเอง
และมีความสามารถที่จะสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ ภารกิจที่สำคัญของผู้สอนคือ
การออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
โดยผู้สอนจะเน้นบทบาทในการเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน
รูปแบบการเรียนการสอนแบบนี้ ได้แก่ การเรียนแบบร่วมมือระหว่างผู้เรียนกันเอง
การเรียนการสอนแบบร่วมมือระหว่างผู้เรียน และผู้สอน การเรียนแบบโครงการ
การเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหา เป็นต้น
2. ความรู้เป็นศูนย์กลาง (Knowledge-centered
approach) ความสามารถในการคิด การคิดอย่างใคร่ครวญ
และการแก้ปัญหาจะแข็งแกร่งก็ด้วยการเข้าถึงความคิด สมมติฐาน ความคิดรวบยอด
ที่ผู้รู้ต่างๆ ได้จัดไว้อย่างมีความหมาย การเรียนที่มีความรู้เป็นศูนย์กลางนี้
จะเน้นบทบาทที่สำคัญของผู้สอนในการจัดรายวิชาการเรียนรู้ให้ผู้เรียน
และสร้างสภาพการเรียนรู้ที่สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
มิได้จำกัดตำราเพียงเล่มเดียว ยิ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งความรู้
แหล่งสารสนเทศได้มากเท่าใด ยิ่งเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้ว่าแหล่งความรู้นั้นมีอยู่มากมาย
การจะได้ความรู้มาได้นั้นอยู่ที่ตัวเขาเอง
สารสนเทศในยุคนี้มีการเก็บในรูปแบบที่หลากหลาย
และที่สำคัญคือในรูปอิเล็กทรอนิคส์รูปแบบต่างๆ
ซึ่งทำให้สืบค้นและเข้าถึงได้ง่ายนวัตกรรมเทคโนโลยีนี้มีบทบาทที่สำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในการเรียนรู้
3. ชุมชนเป็นศูนย์กลาง (Community-centered approach) สิ่งนี้เป็นมิติที่วิกฤติอย่างหนึ่งของสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้
ชุมชนของผู้เรียนมีความแตกต่างอย่างเด่นชัดกับห้องเรียนของผู้เรียน
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ คือ กลุ่มคนที่มีลักษณะดังนี้
(1) มีความสนใจร่วมในหัวเรื่อง
งาน หรือปัญหา
(2) เคารพต่อความหลากหลายของแนวคิด
(3) มีระดับของทักษะและความสามารถ
(4) มีโอกาสและความมุ่งมั่นที่จะทำงานเป็นหมู่คณะ
(5) มีเครื่องมือที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
(6) ผลผลิตทางความรู้เป็นเสมือนเป้าหมายหรือผลผลิตร่วมของชุมชนของผู้รู้
ชุมชนของผู้เรียนเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญในสังคมสารสนเทศเพราะนวัตกรรมเทคโนโลยีสามารถเชื่อมโยงชุมชนของ
ผู้เรียนจากต่างสถาบัน ต่างภาค ต่างประเทศ ให้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชุมชนแห่งปราชญ์
(Community of scholars) ในสาขาวิชาชีพนั้น
ไม่ว่าจะผ่านทาง ListServ, Web-board ไปจนถึงเทคโนโลยีระดับสูงอื่นๆ
ประสบการณ์ใหม่ที่ได้จากมิติของสภาพแวดล้อมใหม่ในการเรียนรู้นี้
จะส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีประสิทธิภาพ
4. การประเมินผลเป็นศูนย์กลาง
(Assessment-centered approach) การรู้ว่าผู้เรียนกำลังเรียนอะไรอยู่
และอะไรคือสิ่งที่เขากำลังเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญในการดัดแปลงสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้
การประเมินต้องเป็นการนำไปสู่การพัฒนาที่ดีกว่า
มากกว่าการตัดสินว่าผู้เรียนเรียนรู้หรือไม่ การประเมินผลในสภาพจริง
เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งของการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมใหม่
เป็นการประเมินกระบวนการ การประเมินผลของการปฏิบัติงาน
มากกว่าการวัดเพียงความรู้ความจำ เครื่องมือของการประเมินจึงออกมาในรูปของการประเมินเชิงมิติ
(Rubrics) ที่มีการวางเกณฑ์ต่างๆ ที่ชัดเจน
การประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนการสร้างแผนที่มโนมติ
(Concept-map) ที่แสดงออกของการเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลายเหล่านี้
เป็นต้น
โครงสร้างและองค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้หลักสูตรมีความสมบูรณ์เพราะองค์ประกอบเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา
ในด้านการจัดการเรียนรู้การบริหารหลักสูตรการวัดและประเมินผล
การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร
ซึ่งนักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตรดังต่อไปนี้
ธำรง บัวศรี (2542 : 8 - 9)
ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตรพอสรุปได้ดังนี้
1.
เป้าหมายและนโยบายการศึกษา (Education Good
and Policies) หมายถึง
สิ่งที่รัฐต้องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา
2.
จุดหมายของหลักสูตร (Curriculum
Amis) หมายถึงผลส่วนรวมที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนหลังจากเรียนจบหลักสูตรไปแล้ว
3.
รูปแบบและโครงสร้างหลักสูตร (Type and
Structure ) หมายถึง
ลักษณะและแผนผังที่แสดงการแจกแจงวิชาหรือกลุ่มวิชา หรือกลุ่มประสบการณ์
4.
จุดประสงค์ของวิชา(Subject objectives) หมายถึงผลที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนหลังจากที่ได้เรียนวิชานั้นแล้ว
5.
เนื้อหา (Content)หมายถึงสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทักษะและความสามารถที่ต้องการให้มี
รวมทั้งประสบการณ์ที่ต้องการให้ได้รับ
เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander, 1974 : 100) ได้กล่าวว่า องค์ประกอบของหลักสูตรประกอบด้วย
1.
แผน
2.
ขอบเขตของหลักสูตร
3.
การออกแบบหลักสูตร
4.
รูปแบบการประเมินผล
5.
ระเบียบการประเมินผล
สำหรับ ไทเลอร์ (Tyler, 1950 : 1 อ้างถึงใน ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, 2551 : 48 )
ได้เสนอข้อคิดเห็นไว้ 4 ประการในการจัดทำหลักสูตรดังนี้
1.
ความมุ่งหมายทางการศึกษาที่สถาบันต้องการให้บรรลุมีอะไรบ้าง
2. เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมาย
จะต้องจัดประสบการณ์อะไรบ้าง
3.
ประสบการณ์ที่กำหนดไว้สามารถจัดให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร
4.
ทราบได้อย่างไรว่าบรรลุความประสงค์แล้ว
ทาบา (Taba, 1962 : 422.
อ้างถึงในชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ , 2551 : 48) ได้กล่าวถึงส่วนประกอบของหลักสูตรไว้ว่า ต้องประกอบด้วย
1.
จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะ
2. เนื้อหาสาระและประสบการณ์เรียนรู้
3. การประเมินผล
โบแชมป์ (Beauchamp, 1975:107. อ้างถึงในชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, 2551 : 48)
ได้กำหนดองค์ประกอบของหลักสูตรไว้ 4 ประการ
1. เนื้อหา
2. จุดมุ่งหมาย
3. การนำหลักสูตรไปใช้
4. การประเมินผล
นอกจากนี้ สุมิตร
คุณานุกร (2532 : 9) ได้ให้ความเห็นว่า องค์ประกอบของหลักสูตรมีอยู่ 4
องค์ประกอบ ดังนี้
1. ความมุ่งหมาย (Objectives)
2. เนื้อหา (Content)
3. การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum Implementation)
4. การประเมินผล(Evaluation)
จากที่นักวิชาการได้ให้ทัศนะองค์ประกอบของหลักสูตร สรุปได้ว่า
องค์ประกอบของหลักสูตรประกอบด้วย
จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ
การนำไปใช้ และการประเมินผล
การทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After
Action Review: AAR)
หมายถึง เทคนิค/วิธีการ/ขั้นตอนหนึ่งในการทำงานที่ใช้ในการทบทวนวิธีการทำงาน
ทั้งด้านความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น
ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงาน
เพื่อปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยคงไว้ซึ่งวิธีการที่ดีอยู่แล้ว
และแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ
รวมทั้งมีการบันทึก/ถอดบทเรียนที่ได้รับเพื่อใช้เป็นข้อมูล/ความรู้ในการทำงานครั้งต่อๆไป
แนวทางการทำ After
Action Review (AAR) คือ ทีมงานร่วมกันตอบคำถามภายหลังการทำงานใน 5
ข้อ ดังนี้
1.
ท่านคาดหวังอะไรจากการทำงานครั้งนี้
2.
ท่านได้ตามที่คาดหวังหรือไม่ เพราะอะไร
3.
มีอะไรที่ไม่เป็นไปตามคาดหวังหรือพบปัญหาอะไร เพราะอะไร
และจะปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร
4.
มีสิ่งที่เกินความคาดหวังหรือไม่ เพราะอะไร
5.
ท่านจะทำอะไรต่อไปเพื่อให้บรรลุสิ่งที่คาดหวัง
หรือท่านได้รับบทเรียนอะไรที่จะช่วยปรับปรุงการทำงานครั้งต่อไป
บทที่ 4
กลยุทธ์การเรียนการสอนทั่วไป คือ การบรรยาย การอภิปรายกลุ่มย่อย
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การค้นคว้าในห้องสมุด การเรียนการสอนที่ใช้สื่อ (mediated
instruction) การฝึกหัดซ้ำๆ การทำงานในห้องปฏิบัติการ การฝึกหัด (coaching) การติวส์ (tutoring)
วิธีอุปนัยและนิรนัยการใช้บทเรียนสำเร็จรูป การแก้ปัญหาและการตั้งคำถาม
อาจเป็นการเพียงพอที่กล่าวว่า ครูเป็นผู้มีกลยุทธ์การสอนของตนเอง
1.สภาวการณ์เรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนการสอนปกติ
เมื่อมีการเขียน การจัดลำดับจุดประสงค์ และการสร้างแบบทดสอบแล้ว
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนก็พร้อมที่จะพัฒนากลยุทธ์เพื่อการออกแบบสภาวการณ์ของการเรียนรู้ต่างๆ
ที่จะประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์
ไม่ว่าการเรียนการสอนเป็นรูปแบบใด ก็จะมีชุดของสภาวการณ์โดยทั่วไป
ไปใช้กับสถานการณ์การเรียนรู้
-
บทนำ
(introduction) จะช่วยนำความตั้งใจของผู้เรียนไปสู่ภาระงานการเรียนรู้
จูงใจผู้เรียนด้วยการอธิบายประโยชน์ของการประสบความสำเร็จ
-
การนำเสนอ (presentation)
เป็นการนำเสนอสารสนเทศ ข้อความจริง มโนทัศน์ หลักการหรือวิธีการให้กับผู้เรียน
-
การทดสอบตามเกณฑ์ (criterion test) เป็นการวัดความสำเร็จของผู้เรียนตามจุดประสงค์ปลายทาง
-
การปฏิบัติตามเกณฑ์
(criterion practice)
เกิดขึ้นในสถานการณ์เช่นเดียวกับการทดสอบปลายภาค โดยมีจุดประสงค์ตัดสินผู้เรียน
-
การปฎิบัติในระหว่างเรียน
(transitional practice) เป็นการออกแบบช่วยผู้เรียนให้สร้างสะพานข้ามช่องระหว่างพฤติกรรมที่แสดงว่ามีความพร้อมถึงระดับที่จะรับการสอนกับพฤติกรรมที่กำหนด
-
การแนะนำ
(guidance)
เป็นการฝึกที่ฉับพลันที่ช่วยให้ผู้เรียนแสดงออกได้อย่างถูกต้องในช่วงต้นของการปฏิบัติพบว่าจะมีการช่วยเหลือมากและจะค่อยๆลดลง
-
การให้ ข้อมูลป้อนกลับ
เป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการการปฏิบัติ เพื่อที่จะบอกกับผู้เรียนว่า ปฏิบัติถูกต้องหรือ ปฏิบัติไม่ถูกต้อง
2.ความต้องการทฤษฎีการเรียนการสอน
เป็นสิ่งจำเป็นที่จะผนวกเข้ากับทฤษฎีการเรียนรู้โดยไม่มีข้อโต้แย้ง
ทฤษฎีการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ว่าผู้เรียนทำอะไร แต่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาจะต้องขึ้นอยู่กับส่วนใหญ่แล้วครูทำอะไร
นั้นคือ ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงอย่างไรในธุรกิจการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
ทฤษฎีการสอนควรเกี่ยวข้องกับการอธิบาย การทำนาย
และการควบคุมทิศทางครูที่ครูปฏิบัติที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ภาพที่เป็นลักษณะนี้ทำให้มีพื้นที่ (room) มากพอสำหรับทฤษฎีการสอน
ทฤษฎีการเรียนการสอน (theory of instruction)
เป็นกฎที่เกี่ยวข้องกับวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของการประสบความสำเร็จในความรู้หรือทักษะ ทฤษฎีการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับความปรารถนาที่จะสอนให้ผู้เรียนเรียนรู้ให้ดีที่สุดได้อย่างไรด้วยการปรับปรุงแทนที่จะพรรณาการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการพัฒนาการมีความสัมพันธ์กับทฤษฎีการเรียนการสอน
ตามความเป็นจริงแล้วทฤษฎีการเรียนการสอนต้องเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และพัฒนาการดีๆเท่ากับเนื้อหาวิชาและต้องมีความสมเหตุสมผลท่างกลางทฤษฎีอื่นๆ
·
ประการแรก
ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะประสบการณ์ซึ่งปลูกฝังบ่มเฉพาะบุคคลให้โอนเอียงสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
หรือเป็นการเรียนรู้ที่สุด
·
ประการที่สอง ทฤษฎีการเรียนการสอนต้องชี้เฉพาะวิธีการจัดโครงสร้างองค์ความรู้เพื่อให้เกิดความพร้อมที่สุด
·
ประการที่สาม
ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการนำเสนอสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
·
ประการสุดท้าย
ทฤษฎีการเรียนรู้ควรชี้เฉพาะธรรมชาติและช่วงก้าวของการให้รางวัลและการลงโทษในกระบวนดารเรียนการสอน
4.ทฤษฎีการเรียนการสอน
การเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับการออกแบบการเรียนการสอน
ซึ่งได้มาจากผลการวิจัยเอกัตบุคคลเรียนรู้อย่างไร
ก่อให้เกิดทฤษฎีการเรียนการสอนจำนวนมาก
ทฤษฎีการเรียนการสอนบางทฤษฎีพยายามที่จะโยงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์การเรียนการสอน
เฉพาะอย่างไปสู่ผลที่ได้รับของการเรียนรู้ (learning outcomes)
โดยกำหนดเงื่อนไขการเรียนกาสอนซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด
มีทฤษฎีการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากมาย คือ ทฤษฎีการสอนของกาเย่ และบริกส์ ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริล
และไรเกลุท ทฤษฎีการเรียนการสอนของเคส
ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา
โรเบิร์ต
กาเย่
(Robert Gagne) เป็นนักปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกา
(1916-2002) ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการสอน
คือ ทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ (Condition of Learning) โดยทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่จัดอยู่ในกลุ่มผสมผสาน (Gagne’s
eclecticism) ซึ่งเชื่อว่าความรู้มีหลายประเภท
บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง
บางประเภทมีความซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง
ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่อธิบายว่าการเรียนรู้มีองค์ประกอบ
3 ส่วน คือ
ก. หลักการและแนวคิด
1) ผลการเรียนรู้หรือความสามารถด้านต่าง ๆ
ของมนุษย์ ซึ่งมีอยู่
5 ประเภท คือ
– ทักษะทางปัญญา (Intellectual
skill) ซึ่งประกอบด้วยการจำแนกแยกแยะ การสร้างความคิดรวบยอด การสร้างกฎ
การสร้างกระบวนการหรือกฎชั้นสูง
– กลวิธีในการเรียนรู้ (Cognitive
strategy)
– ภาษาหรือคำพูด (verbal
information)
– ทักษะการเคลื่อนไหว (motor
skills)
– และเจตคติ (attitude)
2) กระบวนการเรียนรู้และจดจำของมนุษย์
มนุษย์มีกระบวนการจัดกระทำข้อมูลในสมอง ซึ่งมนุษย์จะอาศัยข้อมูลที่สะสมไว้มาพิจารณาเลือกจัดกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
และในขณะที่กระบวนการจัดกระทำข้อมูลภายในสมองกำลังเกิดขึ้น
เหตุการณืภายนอกร่างกายมนุษย์มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมหรือการยับยั้งการ
เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในได้ ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน
กาเย่จึงได้
เสนอแนะว่า
ควรมีการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แต่ละประเภท ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน
และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง โดยการจัดสภาพภายนอกให้เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของผู้เรียน
ข. วัตถุประสงค์
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง
ๆ ได้อย่างดี รวดเร็ว
และสามารถจดจำสิ่งที่เรียนได้นาน
ค. กระบวนการเรียนการสอน
กาเย่ได้นำเอาแนวความคิดมาใช้ในการเรียนการสอนโดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์
หลักการสอน 9 ประการ
ได้แก่ 1) เร่งเร้าความสนใจ (Gain
Attention) 2) บอกวัตถุประสงค์ (Specify
Objective) 3) ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior
Knowledge) 4) นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present
New Information) 5) ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide
Learning) 6) กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit
Response) 7) ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
8) ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance) และ 9) สรุปและนำไปใช้ (Review and
Transfer) รายละเอียดแต่ละขั้นตอน มีดังนี้
1.
เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
กระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจกับบทเรียนและเนื้อหาที่จะเรียนการเร้าความสนใจผู้เรียนนี้อาจทำได้โดย
การจัดสภาพแวดล้อมให้ดึงดูดความสนใจ เช่น
การใช้ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว
และ/หรือการใช้เสียงประกอบบทเรียนในส่วนบทนำ
2.
บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
การ
บอกให้ผู้เรียนทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะการเรียนการสอนบนเว็บที่ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้โดย
การเลือกศึกษาเนื้อหาที่ต้องการศึกษาได้เอง
ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้ทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนล่วงหน้าทำให้ผู้เรียนสามารถมุ่งความสนใจไปที่เนื้อหาบทเรียนที่เกี่ยวข้อง
อีกทั้งยังสามารถเลือกศึกษาเนื้อหาเฉพาะที่ตนยังขาดความเข้าใจที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตรงตามจุดประสงค์ของบทเรียนที่ได้กำหนดไว้
3.
ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)
การทบทวนความรู้เดิมช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
รูปแบบการทบทวนความรู้เดิมในบทเรียนบนเว็บทำได้หลายวิธี
เช่น กิจกรรมการถาม-ตอบคำถาม
หรือการแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนอภิปรายหรือสรุปเนื้อหาที่ได้เคยเรียนมาแล้ว
เป็นต้น
4.
นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
การนำเสนอบทเรียนบนเว็บสามารถทำได้หลายรูปแบบด้วยกัน
คือ การนำเสนอด้วยข้อความ รูปภาพ
เสียง หรือแม้กระทั่ง วีดิทัศน์
อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ผู้สอนควรให้ความสำคัญก็คือผู้เรียน
ผู้สอนควรพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้การนำเสนอบทเรียนเหมาะสมกับผู้เรียนมากที่สุด
5.
ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
การชี้แนวทางการเรียนรู้ หมายถึง การชี้แนะให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนใหม่ผสมผสานกับความรู้เก่าที่เคยได้เรียนไปแล้ว
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วและมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
6.
กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
นักการศึกษาต่างทราบดีว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นจากการที่ผู้เรียนได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนโดยตรง
ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนบนเว็บจึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน
ซึ่งอาจทำได้โดยการจัดกิจกรรมการสนทนาออนไลน์รูปแบบ Synchronous
หรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านเว็บบอร์ดในรูปแบบ
Asynchronous เป็นต้น
7.
ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
ลักษณะเด่นประการหนึ่งของการเรียนการสอนบนเว็บก็คือการที่ผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนได้โดยตรงอย่างใกล้ชิด
เนื่องจากบทบาทของผู้สอนนั้นเปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แต่เพียงผู้เดียวมาเป็นผู้ให้คำแนะนำและช่วยกำกับการเรียนของผู้เรียนรายบุคคล
และด้วยความสามารถของอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา
ทำให้ผู้สอนสามารถติดตามก้าวหน้าและสามารถให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียนแต่ละคนได้ด้วยความสะดวก
การทดสอบความรู้ความสามารถผู้เรียนเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง
เพราะทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้ทราบถึงระดับความรู้ความเข้าใจที่ผู้เรียนมีต่อเนื้อหาในบทเรียนนั้นๆ
การทดสอบความรู้ในบทเรียนบนเว็บสามารถทำได้หลายรูปแบบ
ไม่ว่าจะเป็นข้อสอบแบบปรนัยหรืออัตนัย การจัดทำกิจกรรมการอภิปรายกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มย่อยเป็นต้น ซึ่งการทดสอบนี้ผู้เรียนสามารถทำการทดสอบบนเว็บผ่านระบบเครือข่ายได้
9.
สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
การสรุปและนำไปใช้
จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญ
ๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว
ในขณะเดียวกันบทเรียนต้องชี้แนะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือให้ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม
เพื่อแนะแนวทางให้ผู้เรียนได้ศึกษาต่อในบทเรียนถัดไปหรือนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นต่อไป
เลสลี่
บริกส์ (Leslie
Briggs) เป็นนักการศึกษาที่สําคัญในวงการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียน การสอน
ได้มีการดําเนินการออกแบบในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูแบบการเลือกใช้ สื่อการสอน
ซึ่งได้มีการวางแผนเพื่อนําเอานวัตกรรมมาเผยแพร่ด้วย ระบบการเรียนการสอนของ Briggs เหมาะสําหรับการออกแบบ การเรียนการสอนในระดับหน่วยวิชา
หรือระดับโปรแกรมการเรียนรายวิชา ซึ่งถ้า
สามารถดําเนินการตามคําแนะนําทุกขั้นตอนแล้ว การใช้ระบบของ Briggs จะได้ผลดีโดยเฉพาะ ในการพัฒนา โปรแกรมการเรียนการสอนรายวิชา
4.2 ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริลและไรเกลุท
เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์มหภาพ
(mecro-strategies) สำหรับการัดการเรียนการสอน
เช่นความสัมพันธ์ระหว่างหัวข้อของรายวิชาและลำดับขั้นตอนการเรียนการสอน
ทฤษฎีนี้เน้น มโนทัศน์ หลักการ ระเบียบและวิธีการ และการระลึก
สารสนเทศข้อความจริงต่างๆได้โดยทั่วไป ค่อยเป็นค่อยไปได้ทีละน้อย
หรืออย่างประณีตตามทฤษฎีของเมอร์ริลและไรเกลุท
ขั้นตอนของการเรียนการสอนประกอบด้วย
1.เลือกการปฏิบัติทั้งหมดที่จะสอนโดยการวิเคราะห์ภาระงาน
2. ตัดสินใจว่ะสอนการปฏิบัติใดเป็นลำดับแรก
3.เรียงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่ยังค้างอยู่
4.ระบุเนื้อหาที่สนับสนุน
5.กำหนดเนื้อหาทั้งหมดเป็นบทและจัดลำดับบท
6.เรียงลำดับการเรียนการสอนภายในบท
7.ออกแบบการเรียนการสอนแต่ละบท
4.3 ทฤษฎีการสอนของเคส (Case)
ให้แนวคิดเกี่ยวกับการสอนด้านพฤติกรรมในระหว่างการสอนแต่ละขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญานั้นขึ้นกับการเพิ่มความซับซ้อนของยุทธศาสตร์การคิด
ผู้เรียนจะใช้ความคิดที่ซับซ้อนได้เมื่อได้รับประสบการณ์อย่างมีขั้นตอน
การจัดการสอนลักษณะนี้จัดลำดับตามความมุ่งหมายของภารกิจที่จะเรียน
จัดลำดับขั้นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความมุ่งหมายนั้น ๆ
โดยการเปรียบเทียบการคิดกับทักษะที่ผู้เรียนได้รับ
มีการจัดระดับความสามารถและการปฏิบัติของผู้เรียน มีแบบฝึกหัดหรือตัวอย่างให้ผู้เรียนได้ศึกษา
4.4ทฤษฎีการสอนของลันดา (Landa)
เป็นการดำเนินการสอนโดยใช้การจัดลำดับขั้นการแก้ปัญหาโดยบ่งชี้กิจกรรมการเรียนก่อนที่ผู้เรียนจะลงมือเรียน
และจัดให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการตามที่ได้ออกแบบไว้
อาเรียกได้ว่าเป็นวิธีการทางจิตวิทยาในการวางแผนการเรียนการสอน
ผู้เชี่ยวชาญหลักสูตรมีแนวโน้มที่จะเน้นไปที่โครงสร้างของเนื้อหาบนพื้นฐานของการนำไปประยุกต์ใช้
บ่อยครั้งมีการจัดการเรียนรู้เป็น
1.เนื้อหาทางปัญญา
2.ทักษะทางวิชาการ
3.การเรียนรู้สังคม
4.การเรียนรู้ตามความต้องการของเอกัตบุคคล
5.หลักการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต
มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to
learn" หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน
การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ
1. ความต้องการของผู้เรียน
(Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร
เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม
จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ
และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย
และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
3. การตอบสนอง (Response) เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส
มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม
ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำ
4. การได้รับรางวัล (Reward) ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ
ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้
ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้
6.การวิจัยการเรียนรู้
การวิจัยการเรียนรู้ผู้ออกแบบการเรียนการสอนแบบเฝ้าดูงานวิจัยที่จะตัดสินว่าเงื่อนไขอะไรที่ทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับที่ตนเองเผชิญอยู่ นักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมใช้วิธีการในการศึกษาพฤติกรรมด้วยการสังเกตบุคคลในสถานที่ กรณีที่หลากหลาย ด้วยการตั้งคำถามลึกๆเกี่ยวกับประสบการณ์ มีการสำรวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่จะตัดสินว่าประชาชนเหล่านั้นชอบหรือไม่ชอบ
การวิจัยการเรียนรู้ผู้ออกแบบการเรียนการสอนแบบเฝ้าดูงานวิจัยที่จะตัดสินว่าเงื่อนไขอะไรที่ทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับที่ตนเองเผชิญอยู่ นักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมใช้วิธีการในการศึกษาพฤติกรรมด้วยการสังเกตบุคคลในสถานที่ กรณีที่หลากหลาย ด้วยการตั้งคำถามลึกๆเกี่ยวกับประสบการณ์ มีการสำรวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่จะตัดสินว่าประชาชนเหล่านั้นชอบหรือไม่ชอบ
1. ความเป็นมาของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
การปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดไว้ ดังนี้
หมวด 4 แนวการจัดการศึกษามาตรา24 (5)
ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน
และอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้รวมทั้งสามารถ
ใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้
ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง
ๆ
มาตรา30
ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา
หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา 48
กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัด
สถานศึกษาจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการ
หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาตรา 67
รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2554
ได้กำหนดให้นำการวิจัยมาใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ดังนี้
1. การวิจัยในกระบวนการเรียนรู้
มุ่งให้ผู้เรียนทำวิจัย เพื่อใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
ผู้เรียนสามารถวิจัยในเรื่องที่สนใจหรือต้องการหาความรู้หรือต้องการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้
ซึ่งกระบวนการวิจัยจะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิด ฝึกการวางแผน
ฝึกการดำเนินงานและฝึกหาเหตุผลในการตอบปัญหา
โดยผสมผสานองค์ความรู้แบบบูรณาการเพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
2. การวิจัยพัฒนาการเรียนรู้ มุ่งให้ผู้สอนสามารถทำวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้
วางแผนแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ
ผู้สอนสามารถทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่นำไปสู่คุณภาพการเรียนรู้
ด้วยการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ ออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
ทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลการใช้นวัตกรรมนั้น
ๆและผู้สอนสามารถนำกระบวนการวิจัยมาจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ด้วยการใช้เทคนิควิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนจากการวิเคราะห์ปัญหา สร้างแนวทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
ดำเนินการตามแนวทางที่เลือก และสรุปผลการแก้ไขปัญหาอันเป็นการฝึกทักษะ
ฝึกกระบวนการคิด ฝึกการจัดการจากการเผชิญสภาพการณ์จริง
และปรับประยุกต์มวลประสบการณ์มาใช้แก้ไขปัญหา
3. การวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มุ่งให้ผู้บริหารทำการวิจัยและนำผลการวิจัยมาประกอบการตัดสินใจ
รวมทั้งจัดทำนโยบายและวางแผนบริหารจัดการสถานศึกษาให้เป็นองค์กรที่นำไป สู่คุณภาพการจัดการศึกษา
และเป็นแหล่งสร้างเสริมประสบการณ์เรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ
2. กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
มีขั้นตอนการวิจัยเช่นเดียวกับกระบวนการวิจัยโดยทั่วไป
กระบวนการวิจัยเพื่อการเรียนรู้
ได้มีการนำกระบวนการวิจัยทั่วไปมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา การเรียนรู้หรือการพัฒนาการเรียนรู้เป็นสำคัญ
ดังนั้นในขั้นการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา จึงต้องเน้นไปที่ผลการพัฒนาผู้เรียน 3
ด้าน คือด้านความรู้(Cognitive Domain) ด้านทักษะ(Psychomotor
Domain) และด้านเจตคติ(Affective Domain) และก่อนที่ผู้สอนจะใช้การวิจัยในกระบวนการเรียนรู้
เพื่อแก้ปัญหาหรือเพื่อพัฒนาผู้เรียน
เช่นเดียวกันกับผู้บริหารจะทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ซึ่งองค์ประกอบของกระบวนการวิจัยเพื่อการเรียนรู้ มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ดังแผนภูมิ
การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
มุ่งเน้นผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้
ด้วยการใช้การวิจัยในกระบวนการเรียนรู้
การวิจัยพัฒนาการเรียนรู้และการวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. การวิจัยในกระบวนการเรียนรู้
การวิจัยในกระบวนการเรียนรู้
คือการนำระเบียบวิธีวิจัยมามาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ซึ่งมาจากความเชื่อว่า “ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและพัฒนาตนเองได้”
ดังนั้นการจัดการศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ความถนัด และความต้องการ
จากสื่อและอุปกรณ์ที่มีอยู่ตามแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในครอบครัว
ในสถานศึกษาและในชุมชนที่ผู้เรียนพบในชีวิตประจำวัน
·
แนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง มีหลายแนวคิด เช่น
1)
แนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
(Participation
learning)
ซึ่งเน้นการสร้างความรู้จากประสบการณ์เดิมของผู้เรียนและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน
2) แนวคิดการเรียนรู้ตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งมี 3 ระดับ คือการรู้จำจากการบอกหรือสอน การรู้จักจากการคิดหาเหตุผล และการรู้แจ้งจากการสร้างความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งด้วยการค้นพบด้วยตนเอง
3) แนวคิดการสร้างความรู้ (Constructivism) เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองจากวิธีการต่าง ๆ กัน โดยอาศัยประสบการณ์เดิมจากโครงสร้างทางปัญญา และแรงจูงใจ
2) แนวคิดการเรียนรู้ตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งมี 3 ระดับ คือการรู้จำจากการบอกหรือสอน การรู้จักจากการคิดหาเหตุผล และการรู้แจ้งจากการสร้างความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งด้วยการค้นพบด้วยตนเอง
3) แนวคิดการสร้างความรู้ (Constructivism) เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองจากวิธีการต่าง ๆ กัน โดยอาศัยประสบการณ์เดิมจากโครงสร้างทางปัญญา และแรงจูงใจ
จากแนวคิดดังกล่าวที่นำมาใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้
ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบโดยอาศัยกระบวนการวิจัยเข้ามาช่วยในการเรียนรู้ในเรื่องที่มีความซับซ้อนทำให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด
การจัดการ การหาเหตุผลในการแก้ปัญหา
การผสมผสานความรู้แบบสหวิทยาการและการเรียนรู้ปัญหาที่ผู้เรียนสนใจ
ครูจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนมีอิสระในการทดลองใช้แนวคิดและวิธีการต่าง
ๆในการเรียนรู้ การทดสอบความรู้ที่ได้รับและการสรุปความรู้ เจตคติ
และทักษะอันเป็นเครื่องมือพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีพัฒนาการทางสติปัญญา
ทางอารมณ์ สังคม และทางร่างกาย ซึ่งรูปแบบการวิจัยในกระบวนการเรียนรู้ มีดังนี้
แผนภูมิ แสดงการวิจัยในกระบวนการเรียนรู้
จากแผนภูมิ
การวิจัยในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้
คือผู้เรียนมีความรู้ เจตคติ และทักษะ
ซึ่งได้จากการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการการเรียนรู้ ขั้นตอนนี้ผู้เรียนจะต้องทราบความต้องการการเรียนรู้ของตนเอง
มีการลำดับความสำคัญของความต้องการก่อนหลังที่ต้องการจะเรียนเรียน
และนำเรื่องที่มีความสำคัญลำดับแรก มากำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการเรียนรู้ ผู้เรียนจะต้องวางแผนการเรียนรู้ของตนเองว่าจะเรียนเรื่องอะไร ใช้เวลาเรียนเท่าไร เรียนรู้ด้วยวิธีใด เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ใด ต้องใช้สื่ออะไร และเมื่อมีปัญหาในการเรียนจะต้องปรึกษาใคร เมื่อได้รับความรู้แล้วจะนำความรู้ไปใช้อย่างไร ตลอดจนวางแผนการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนางาน
ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เป็นขั้นตอนของการปฏิบัติเพื่อแสวงหาความรู้ตามที่ได้วางแผนไว้ ซึ่งอาจใช้วิธีการต่าง ๆ ในการเรียนรู้ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การบันทึกข้อความ การสรุปความ การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ เช่น ศูนย์วิทยาการ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคลและสื่อเทคโนโลยี เป็นต้น เมื่อได้ความรู้แล้วควรตรวจสอบความถูกต้องของความรู้ที่ได้ และนำความรู้ไปใช้ให้เป็นไปตามเป้าหมายของการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 4 การสรุปความรู้ เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนสรุปความรู้และนำเสนอความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ แผนภาพ แผนภูมิ ฯลฯ และอาจใช้ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยีต่าง ๆมาช่วยในการนำเสนอ
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลเพื่อปรับปรุงและนำไปใช้ในการพัฒนา เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนประเมินกระบวนการเรียนรู้ของตนเองในระหว่างการเรียนรู้ทุกขั้นตอน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและการนำไปใช้พัฒนางานต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการเรียนรู้ ผู้เรียนจะต้องวางแผนการเรียนรู้ของตนเองว่าจะเรียนเรื่องอะไร ใช้เวลาเรียนเท่าไร เรียนรู้ด้วยวิธีใด เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ใด ต้องใช้สื่ออะไร และเมื่อมีปัญหาในการเรียนจะต้องปรึกษาใคร เมื่อได้รับความรู้แล้วจะนำความรู้ไปใช้อย่างไร ตลอดจนวางแผนการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนางาน
ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เป็นขั้นตอนของการปฏิบัติเพื่อแสวงหาความรู้ตามที่ได้วางแผนไว้ ซึ่งอาจใช้วิธีการต่าง ๆ ในการเรียนรู้ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การบันทึกข้อความ การสรุปความ การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ เช่น ศูนย์วิทยาการ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคลและสื่อเทคโนโลยี เป็นต้น เมื่อได้ความรู้แล้วควรตรวจสอบความถูกต้องของความรู้ที่ได้ และนำความรู้ไปใช้ให้เป็นไปตามเป้าหมายของการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 4 การสรุปความรู้ เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนสรุปความรู้และนำเสนอความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ แผนภาพ แผนภูมิ ฯลฯ และอาจใช้ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยีต่าง ๆมาช่วยในการนำเสนอ
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลเพื่อปรับปรุงและนำไปใช้ในการพัฒนา เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนประเมินกระบวนการเรียนรู้ของตนเองในระหว่างการเรียนรู้ทุกขั้นตอน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและการนำไปใช้พัฒนางานต่อไป
2. การวิจัยพัฒนาการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขนั้น
ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงมาตรฐานการจัดการศึกษา
ที่กำหนดในการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ
คือผู้เรียนจะต้องเกิดกระบวนการเรียนรู้ตรงตามเป้าหมายการเรียนรู้
ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จึงมีบทบาสำคัญในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ผู้สอนจำเป็นจะต้องบูรณาการภารกิจของการวิจัยมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้
ดังนี้
1. ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน
ควรใช้กระบวนการวิจัยมาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
2. ทำวิจัยเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน
3. นำผลการวิจัยมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน
2. ทำวิจัยเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน
3. นำผลการวิจัยมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน
ดังนั้น
การใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จึงเป็นภารกิจที่สำคัญและจำเป็นที่ผู้สอนควรนำมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มีการดำเนินงาน ดังนี้
กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ความต้องการ/พัฒนาการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการจัดการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 5 ทำรายงานผลการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการจัดการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 5 ทำรายงานผลการเรียนรู้
กระบวนการทั้ง 5
ขั้นตอนผู้สอนจะต้องนำวิธีวิจัยมาใช้ในการดำเนินงาน และในขั้นตอนที่ 3
เมื่อผู้สอนทำการประเมินระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้แล้วพบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นเล็กน้อย
ผู้สอนจะต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ และเมื่อผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ในขั้นตอนที่
4 แล้วพบว่าไม่มีปัญหา
ผู้เรียนมีการพัฒนาการเรียนรู้ที่ตรงกับจุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ผู้สอนจะต้องจัดทำรายงานผลการเรียนรู้
เพื่อรายงานแก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อทราบและใช้ประโยชน์ต่อไป
ในกรณีผู้สอนทำการประเมินผลการเรียนรู้ในขั้นตอนที่
4 แล้วพบว่ามีปัญหารุนแรง หรือพบว่ามีบางเรื่องที่จำเป็นต้องพัฒนา
แต่ไม่อาจทำได้ทันที เช่น ผู้เรียนวิชาภาษาไทยขาดทักษะการอ่าน
โดยเฉพาะการอ่านจับใจความ ผู้สอนจะต้องทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
โดยดำเนินการดังนี้
1) จัดกิจกรรมแก้ปัญหา/พัฒนา
2) เก็บรวบรวมข้อมูล/วิเคราะห์ข้อมูล
3) สรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนา
2) เก็บรวบรวมข้อมูล/วิเคราะห์ข้อมูล
3) สรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนา
เมื่อได้ผลการแก้ปัญหา/พัฒนาแล้ว
ผู้สอนจะต้องกลับไปประเมินผลการเรียนรู้และรายงานต่อผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้ประโยชน์และเมื่อผู้สอนได้ทำวิจัยเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการเรียนรู้ได้แล้ว
ผู้สอนจะต้องนำผลวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ต่อไป
3. การวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
การจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพนั้น
ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายในของสถานศึกษา เช่น ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
และผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการทำให้กิจกรรมต่าง ๆ
ของสถานศึกษาดำเนินไปได้ด้วยดี คือผู้บริหารสถานศึกษา
ซึ่งจะต้องระดมสรรพกำลังบุคลากรทุกฝ่ายตั้งแต่ ผู้สอน ผู้เรียน กรรมการสถานศึกษา
และชุมชน มาร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ เพื่อกำหนดทิศทางหรือวิสัยทัศน์ จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา จัดทำแผนปฏิบัติการ การดำเนินงานตามแผน
การนิเทศติดตามผล และการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษา
กระบวนการต่าง ๆ ดังกล่าวถือว่าผู้บริหารสถานศึกษาได้นำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการบริหารจัดการของสถานศึกษา
ดังนี้
ในกรณีที่ประเมินผลการดำเนินงานแล้วพบว่ามีปัญหารุนแรงหรือพบเรื่องที่ควรได้รับการพัฒนา
ผู้บริหารจะต้องทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานดังกล่าวในระหว่างขั้นตอนที่ 4
ของการดำเนินงาน โดยมีขั้นตอนวิจัย 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การวิเคราะห์ปัญหา/พัฒนา
2. วางแผนแก้ปัญหา/พัฒนา
3. จัดกิจกรรมแก้ปัญหา/พัฒนา
4. เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
5. สรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนา
2. วางแผนแก้ปัญหา/พัฒนา
3. จัดกิจกรรมแก้ปัญหา/พัฒนา
4. เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
5. สรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนา
เมื่อสรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนา เสร็จแล้วขั้นต่อไปคือการนำผลการวิจัยไปใช้
และประเมินในขั้นตอนที่ 4 ของการดำเนินงานบริหารอีกครั้ง ถ้าพบว่าไม่มีปัญหา
จึงจัดทำรายงานผลการดำเนินงานสถานศึกษาให้ผู้เกี่ยวข้องทราบหรือเป็นข้อมูลในการพัฒนา
ต่อไป
แหล่งอ้างอิง
1. กระทรวงศึกษาธิการ.(2548)
มาตรฐานการศึกษาของชาติ.กรุงเทพฯ : สหายบล็อกและการพิมพ์
2. กรมวิชาการ.(2545) การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
3. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)(2547).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค
2. กรมวิชาการ.(2545) การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
3. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)(2547).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค
7.ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวร
เนื่องจากการฝึกปฏิบัติ
8.การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
9.รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง